หัวข้อ: ขำ เริ่มหัวข้อโดย: Lจ้าVojกaoนบทนี้* ที่ 05 กรกฎาคม 2011, 10:53:PM มีคนเขาเอาบทกลอนเรื่องขุนช้างขุนแผนไปลงใน กูเกิ้ลกูรู แล้วบอกให้ช่วยแปลให้ เราก็เลยถามว่า จะให้แปลเป็นภาษาอะไร อังกฤษ จีน ญี่ปุ่น หรือเกาหลี emo_45 ขำเนาะ คนเราเดี๋ยวนี้ ต้องให้แปลไทยเป็นไทยให้ฟังอีก emo_26 หัวข้อ: Re: ขำ เริ่มหัวข้อโดย: ...สียะตรา.. ที่ 05 กรกฎาคม 2011, 11:03:PM ......ไม่ใช่...meer....แต่ร้อนจิต..ด้วยคิดถึง ...เพราะตราตรึงคารม..อมขำขัน emo_26 ...เห็นชื่อเฮีย..ก็...หวั่นใจ...เอ๊ะ....ไงกัน ...เลยรำพันเชิงอ้อนนน...ฟ้อนหาเฮีย ......เคยเห็นนะคะเดี๋ยวนี้เค้ามีแปลร้อยกรองมาเป็นร้อยแก้วเชิงนิยาย... หัวข้อ: Re: ขำ เริ่มหัวข้อโดย: Lจ้าVojกaoนบทนี้* ที่ 05 กรกฎาคม 2011, 11:12:PM นึกถึงสมัยเราอยู่เว็บเก่า เราใช้ชื่อว่าคนอ่าน แล้วอยู่มาวันหนึ่ง ก็มีคนโพสต์ขอให้เราแต่งเพลงให้ เราก็ถามว่าแล้ว ทำไมไม่โพสต์ถึงคนแต่งล่ะ(ก็เราเป็นอ่านนี่นาจะแต่งได้ไง มันต้องโพสต์ถึงคนแต่งสิ) emo_45 หัวข้อ: Re: ขำ เริ่มหัวข้อโดย: amika29 ที่ 05 กรกฎาคม 2011, 11:16:PM โปรดอย่าว่าเลยค่ะ
เห็นใจเด็ก ๆ เค้าหน่อย บางทีภาษามันต่างกัน บางคำก็ไม่ค่อยได้ใช้แล้ว ถือว่าเป็นคุณครูสนับสนุนให้เด็ก สมัยใหม่เค้าได้รู้ ได้ศึกษากลอนเถอะค่ะ อาจเป็นวิธีการเรียนรู้ด้วยตนเองของเด็กยุคใหม่ ยังไงก็ชี้แนะเค้าหน่อยนะคะ แบบว่าตัวเองก็หัวไม่ดี ก็เลยเข้าใจน่ะค่ะ emo_111 หัวข้อ: Re: ขำ เริ่มหัวข้อโดย: ช่วงนี้ไม่ว่าง ที่ 06 กรกฎาคม 2011, 02:51:AM เรื่องขำขำ ขำได้ ถ้าใจขำ เจ็บก็จำ ย้ำใจ ทีใครก่อน ถึงทีข้า อย่าหา ว่ายอกย้อน อาจม้วยมรณ์ หอกเจ้า เข้าอกตัว หัวข้อ: Re: ขำ เริ่มหัวข้อโดย: ช่วงนี้ไม่ว่าง ที่ 06 กรกฎาคม 2011, 01:14:PM อ่านคำแปลได้ที่นี่ http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sdayoo&month=11-2010&date=01&group=25&gblog=19 (http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=sdayoo&month=11-2010&date=01&group=25&gblog=19) หัวข้อ: Re: ขำ เริ่มหัวข้อโดย: Lจ้าVojกaoนบทนี้* ที่ 07 กรกฎาคม 2011, 09:02:PM เมื่อวานได้อ่านโพสต์ของคุณกามนิตแล้วทีแรกก็รู้สึกดี ดูเหมือนจะพยายามพูดให้เข้าใจอกเข้าใจกันและกัน
แต่พอมาถึงประโยคท้ายตอนจบที่ ก็ต้องจี๊ดขึ้นมาทันที เพราะเป็นการท้าทายกันอย่างชัดเจน แล้วไอ้คนที่ถูกท้าจะเป็นใครถ้าไม่ใช่ผมที่เป็นเจ้ากระทู้ ดังนั้นผมจึงต้องอ่านและพิจารณาโคลงทั้งสองบทอย่างละเอียดอีกครั้งและพยายามทำความเข้าใจด้วยตยเองว่า มันหมายถึงอะไร(ทั้งๆที่ตนเองก็ไม่เคยจะอ่านลิลิตเรื่องนี้เลยสักนิด) แต่เมื่ออ่านไปแล้วผมก็ต้อง งง กับ ศัพท์ บางศัพท์ เช่น กุเพนทรา ว่ามันจะหมายถึงอะไร จำต้องหาในคูเกิ้ล ด้วยว่า ไม่ได้มีพจนานุกรมอยู่ในมือ (ผมกับคำว่าพจนานุกรม ก็เหมือนคนแปลกหน้า ที่เคยได้ยินแต่ชื่อเสียง แต่ไม่เคยได้พบหน้าค่าตา) แต่เมื่อหาดูแล้วก็ไม่พบคำอธิบายอย่างไร คงพบแต่คำแปลโคลงสองบทนั้น ที่ผมไม่มั่นใจว่าจะถูกต้อง อีกทั้งเมื่อมีผู้นำลิงก์คำแปลโคลงทั้งสองบท ดังกล่าวมาโพสต์ไว้แล้ว ผมจึงทำใจจำต้องนิ่งเฉยเสีย ด้วยคร้านจะไปตอบโต้เพื่อเอาชนะคะคานโดยคิดเสียว่า ผู้ต้องการรู้คำตอบก็คงจะได้อ่านตามลิงก์ดังกล่าว อีกอย่างหนึ่ง ผมมีเหตุผลอีกสองข้อ ที่จำต้องนิ่งเฉยเสีย ๑. การแปลโคลงทั้งสองบทที่คุณกามนิตยกมาท้าทายให้แปลนั้น ถ้าจะมาบอกว่าแปลไทยเป็นไทย ผมไม่เห็นด้วย ถึงแม้ว่าโคลงทั้งสองบทจะแต่งโดยคนไทยก็ตาม แต่ศัพท์ที่ยกมาทั้งหมดส่วนใญ่ เป็นศัพท์ บาลี สันสกฤษ ที่ผ่านการแปลง การแผลงรูป จนแม้แขกที่เป็นเจ้าของภาษาเองก็ต้อง งงเหมือนกัน และก็ไม่ใช่ถ้อยคำหรือภาษา ที่ผู้คนในสมัยนั้น ใช้พูดจาสื่อสารกันเข้าใจแต่ประการใด ภาษาดังกล่าวจึงจัดเป็นภาษาพิเศษที่เข้าใจกันเฉพาะกลุ่ม คือพวกกวีที่นำคำเหล่านั้นมาเล่น ไม่เป็นที่เข้าใจกันทั้ง คนไทยในสมัย หรือเจ้าของภาษาดั้งเดิม ดังนั้นจะใช้คำว่า แปลไทยเป็นไทยได้อย่างไรกัน ภาษาหรือศัพท์ดังกล่าวนี้ คงเป็นที่รู้กันเฉพาะคนไทยที่นิยมภาษาแขกแล้วนำมาดัดแปลง รู้เฉพาะในหมู่พวกเดียวกันเอง ที่แม้แต่พวกแขกเองก็ไม่เข้าใจ ไม่ต่างกับพวกนักเรียนนอกสมัยนี้ที่ชอบพูดไทยคำฝรั่งคำ คนอื่นไม่มีทางจะเข้าใจได้ ก็คงมีแต่คนที่นำมาใช้หรือกลุ่มของคนที่นำมาใช้เท่านั้นถึงจะเข้าใจ ๒ ผมคร้านที่จะต้องมานั่งพิมอธิบายศัพท์แสงต่างๆ ไม่ใช่เพราะว่าจนภูมิ แต่เป็นเพราะ สิบความคิดเท่ากับหนึ่งคำพูด สิบคำพูดเท่ากับหนึ่งคำเขียนหรือคำพิมพ์ ด้วยความไม่สัมพันธ์กันของขบวนการดังกล่าว ผมเลยคร้านที่จะมานั่งอธิบาย โดยตัดความรู้สึกเรื่องอยากจะเอาชนะคะคานออกไปเสีย แต่วันนี้ เมื่อได้มาเห็นอีกโพสต์หนึ่ง ของคุณกามนิตแล้วมันทำให้ผมสุดที่จะอยู่เฉยต่อไปได้ จำต้องออกมาพูด อย่างไรก็ดี การเขียน การแปล คำอธิบายต่อไปนี้นั้น เป็นการเขียนตามความเข้าใจของผมเท่านัน ผมไม่รับรองว่ามันจะถูกต้อง หรือจะต้องไปยึดเอาเป็นแบบอบ่างบทเรียน ใครเห็นด้วย จะสนับสนุน ผมก็ไม่ขัดศรัทธา แต่จะไม่เห็นด้วยผมก็ไม่ว่า ทุกอย่างมันขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแต่ละคน บทต่อไปนี้คือคำแปล หรือการตีความ โคลงทั้งสองบทนั้น โคลงสี่ ๏ พรหมพิษณุบรเมศรเจ้า........จอมเมรุ มาศแฮ ยำเมศมารุตอร....................อาศนม้า พรุณคนิกุเพนทรา................สูรเสพย เรืองรวีวรจ้า.......................แจ่มจันทร ฯ ๏ เอกาทสเทพแส้ง...............เอาองค์ มาฤๅ เป็นพระศรีสรรเพชญ.............ที่อ้าง พระเสด็จดำรงรักษ...............ล้ยงโลกย ไส้แฮ ทุกเทพทุกท้าวไหงว้.............ช่วยไชย ฯ คำแปล คำตีความ โดย กายวิน พรหมพิษณุบรเมศรเจ้า........จอมเมรุ มาศแฮ แปลว่า พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ ผู้เป็นจอมเจ้าแห่งเขาพระสุเมรุ(เขาสิเนรุ) ยำเมศมารุตอร....................อาศนม้า แปลว่า ประทับนั่งบนหลังม้าอันงดงามที่ชื่อว่ามารุต(ลม) ตรงคำว่า ยำเมศ ที่ราชบัณฑิตไปตีความว่า ยมเมศ ที่หมายถึงพระยม ผมอยากจะตีความว่า ยำ น่าจะหมายถึงย่ำ ส่วนเมศ คือม้า (ม้าอัศวเมศ)อันชื่อว่า มารุต สรูปก็คือ ประทับนั่งบนหลังม้าอันชื่อมารุต หรือพูดง่ายๆก็คือประทับบนสายลม หรือเหาะหรือลอยมานั่นแหละ ผมมองไม่เห็นว่ามันจะไปเกี่ยวกับพระยมตรงไหน(เวลาจะเกิดฝนตกนั้น มักจะเกิดฟ้าร้องฟ้าลั่นจน แผ่นดินสะเทือน คนโบราณ(คนแต่ง)จึงเปรียบเหมือนพระพรหมหรือพระศิวะกำลังควบขับม้าวิ่งตลุยบนท้องฟ้ามาอยู่ จึงเกิดเสียง สั่นสะเทือนเลื่อนลั่นดังนั้น) พรุณคนิกุเพนทรา................สูรเสพย ตรงนี้ผมงงกับคำว่า กุเพนทรา มากๆ พยายามจะไปหาคำแปลว่าหมายถึงสิ่งใดแต่ก็จนปัญญา จึงต้องอาศัยการเดาเอาเท่านั้น(กุพิ+อินทรา=ความเป็นใหญ่)ฉะนั้นจึงตีความหมาย ว่า ความเป็นใหญ่ ของอะไรซักอย่าง(น่าจะหมายถึงเป็นใหญ่หรือมีอำนาจเหนือกลุ่มเมฆ) คำว่า พรุณ แปลว่า พระพิรุณ หรือวรุณเทพ(ฝน) บาทว่า พรุณคนิกุเพนทรา ประกอบด้วยศัพท์คือ พรุณ+คนิก+อุพิ+อินทรา(ความเป็นใหญ่-ไม่ใชหมายถึงพระอินทร์) พรุณคนิก หมายความว่า คณะของพระพิรุณ ซึ่งหมายถึงเมฆฝนนั่นเอง คำว่า คนิก แปลว่าคณะ ไม่ได้หมายถึง พระอัคนีแต่ประการใด(พรุณคนิกุเพนทรา น่าจะหมายถึง คณะของพระพิรุณผู้เป็นใหญ่ในเมฆฝน) ส่วน สูรเสพย หมายถึง กลบหรือกลืนดวงอาทิตย์ (สูร คำนี้น่าจะหมายถึงดวงอาทิตย์มากกว่าอสูร) พรุณคนิกุเพนทรา สูรเสพย บาทนี้ เมื่อตีความหมายออกมาแล้วก็แปลว่า "หมู่คณะของพระพิรุณผู้เป็นจอมเมฆ บดบังหรือกลืนดวงอาทิตย์" หรือพูดอีกอย่างหนึ่งคือ เมฆฝนตั้งเค้ามาบดบังดวงอาทิตย์ เรืองรวีวรจ้า แจ่มจันทร แปลว่า พระอาทิตย์ ปรากฏองค์ เปล่งแสงขึ้นมาอีก บังเกิดรัศมีงดงาม(พระอาทิตย์ทรงกลด) คำว่า เรือง เปล่งรัศมี รวี คือพรอาทิตย์ วร หมายถึง พระองค์ จ้า คือชัดเจน ส่วน แจ่มจันทร ใช้ในความหมายเป็นเชิงเปรียบเทียบว่างดงาม เช่นเราเรียกหญิงสาวที่งดงามว่า เจ้าแจ่มจันทร์ เป็นต้น ไม่ได้หมายถึงพระจันทรเทพแต่ประการใด สรูปของโคลงบทนี้ก็คือ กล่าวถึง ลมพัดหมู่เมฆ(ฝน)เข้ามาบดบังดวงอาทิตย์ จากนั้นฝนก็ซาไป พระอาทิตย์เริ่มเปล่งแสง เกิดปรากฏการณ์ รุ้งรอบดวงอาทิตย์ ที่เรียกว่า พระอาทิตย์ทรงกลด อันเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติเท่านั้น เป็นแต่ไปพรรณนา เปรียบเทียบลมว่า เหมือนพระพรหม พระวิษณุหรือพระอิศวร กำลังนั่งประทับบนหลังม้ามารุ(ลม)แล้วควบขับมาอยู่ เปรียบเทียบหมู่เมฆฝน ว่า เปรียบเหมือน คณะของพระพิรุณ กำลังเข้ายึด(กลืน)ดวงอาทิตย์ ซึ่งเป็นการพรรณนาถึงธรรมชาติ ก่อนและหลังฝนตกเท่านั้น ผมไม่เห็นว่ามันจะไปเกี่ยวกับ เทพ ๑๑ องค์ตรงไหน (การตีความว่าหมายถึง เทพ ๑๑ องค์ เห็นจะไปเอาคำว่า เอกาทสเทพ จากบทอื่นเข้ามารวม ทำให้เกิดการตีความว่า โคลงข้างบนนั้น พูดถึง เทพ ๑๑ องค์ ตรงคำว่า กุเพนทรา สูรเสพย จะไปตีความว่า ท้าวกุเวร ผู้เป็นใหญ่เหนืออสูร น่าจะผิด เพราะคำว่าอสูร กับยักษ์ นั้น มันเป็นคนละพวก ท้าวกุเวร หรือเวสสุวรรณนั้น เป็นจ้าวแห่งยักษ์ ไม่ใช่อสูร คำว่ากุเพน กับกุเวร ก็เป็นคนละศัพท์กัน จะไปตีความว่า กุเพน คือกุเวร ไม่ได้) ๏ เอกาทสเทพแส้ง...............เอาองค์ มาฤๅ เป็นพระศรีสรรเพชญ.............ที่อ้าง พระเสด็จดำรงรักษ...............ล้ยงโลกย ไส้แฮ ทุกเทพทุกท้าวไหงว้.............ช่วยไชย ฯ คำว่า เอกาทสเทพ อาจหมายถึง เทพ ๑๑ องค์ ดังที่กล่าวมาก็ หรืออาจจะหมายถึงบุคคลคนหนึ่งที่มีนามว่า เอกาทสเทพ ก็ได้เช่นกัน (ทั้งนี้ต้องอ่านดูในเนื้อเรื่องให้ตลอดถึงจะเข้าใจ) คำว่า พระศรีสรรเพชญ อาจเป็นชื่อหรือพระนามของกษัตริย์ พระองค์ใดพระองค์หนึ่ง แต่คำว่า สรรเพชญ มาจากคำว่า สัพพะ+วิชชา แปลว่า ผู้รอบรู้สิ่งทั้งปวง เทียบได้กับคำว่า สัพพัญญู ผู้รู้สิ่งทั้งปวง ซึ่งเป็นพระนามของพระพุทธเจ้าทั้งสองคำ โคลงบทนี้ผมไม่อยากจะตีความให้มันยืดยาวไป ขอตีความง่ายๆว่า "หรือพระเอกาทสเทพจำแลงองค์มาเป็นพระศรีสรรเพชญ(พระสัพพัญญูพุทธเจ้า) แล้วเสด็จดำรงรักษาและเลี้ยงดูโลก ทุกเทพทุกท้าว(กษัตริย์)ต่างก็กันกราบไหว้ ทำให้เกิดชัยชนะสวัสดี" ซึ่งก็ไม่แปลกอะไร เพราะพระพุทธเจ้านั้นทรงเป็นที่นับถือของทวยเทพและมนุษย์อยู่ สรูป โคลงบทนี้ เป็นการยกยอพระเกียรติ กษัตริย์ ของตนว่า เปรียบเหมือน ทวยเทพ ๑๑องค์ จำแลงมาเป็น องค์สัพพัญญูพุทธเจ้า และพระองค์ทรงมีอุปการคุณต่อโลก จึงเป็นที่เคารพนับถือทั้งเทวดาและมนุษย์ (ก็คือ กษัตริย์พระองค์นี้ทรงเป็นที่นับถือทั้งของเทพและมนุษย์) หัวข้อ: Re: ขำ เริ่มหัวข้อโดย: พรายม่าน ที่ 07 กรกฎาคม 2011, 10:40:PM ขอผสมโรงด้วยนิด การขอให้ช่วยแปลคำประพันธ์มันมีหลายมิติซ้อนๆกันอยู่ ๑. เพราะไม่รู้และขี้เกียจรู้แต่มีความจำเป็นที่ต้องรู้ ๒. เพราะรู้บ้างแต่ยังรู้ไม่หมดและขี้เกียจค้นหา ๓. เพราะเผอิญรู้เลยอยากรู้ว่าคนอื่นจะรู้หรือเปล่า ๔. เพราะเป็นพหูสูตและอยากทำทานแก่ผู้ไม่รู้โดยวิธีถาม รู้กับจำได้ไม่เหมือนกันนะครับ จำคือ อะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ ใคร เท่าใด (ผัสสะ) รู้คือ ทำไม อย่างไร (อิทัปปัจจยตา) ทีนี้กล่าวถึงผู้รู้ ถ้าเรื่องที่ถูกร้องขอ เรารู้ และการให้ไม่ก่อให้เกิดวิบากกรรมใดๆ ความยินดีที่จะให้ ผมว่าเป็นกุศล ให้ได้ก็ให้ไปเถิดครับ รู้ ประนีประนอมไม่ได้นะผมว่า ไม่มีมากมีน้อย รู้ก็คือรู้ เปลี่ยนเป็นไม่รู้ไม่ได้ ปัญหาจึงอยู่ที่ รู้หรือว่า อนุมาน ประมาณ สันนิษฐาน หรือเดา ส่วนผม ไม่รู้อะไรเลย พรายม่าน สันทราย ๐๗.๐๗.๕๔ หัวข้อ: Re: ขำ เริ่มหัวข้อโดย: พรายม่าน ที่ 09 กรกฎาคม 2011, 08:32:PM ขอเสริมท่านกามนิตและท่านกายวินหน่อย เผอิญผมมีลิลิตยวนพ่ายฉบับกรมศิลปากรจัดพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ บรรณาคาร ฉบับพิมครั้งที่ ๕ พ.ศ. ๒๕๑๔ จำนวนพิมพ์ ๑,๐๐๐ เล่ม คำอธิบายโดย สมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นที่ทราบกันว่า ลิลิตยวนพ่าย นั้นแต่งขึ้นในสมัย สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (พระเชษฐาธิราช ครองราชย์ พ.ศ. ๒๐๓๔-๒๐๗๒) เพื่อยอพระเกียรติสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระราชบิดา ต่อเหตุการณ์ปราบกบฏล้านนา(คนไทยสมัยนั้นเรียกยวน แผลงมาจาก โยนก –โยน-ยวน) ไม่ปรากฏหลักฐานว่าใครแต่ง แต่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงฯ ทรงเห็นว่าผู้แต่งมีความเชี่ยวชาญเรื่องภาษามากและเหมาะที่จะนำมาศึกษา แต่ศัพท์ที่ใช้เก่าและเข้าใจยาก ลิลิตเล่มนี้จึงไม่เป็นที่นิยมอย่าง ลิลิตพระลอ หรือ เตลงพ่าย ผมไม่ติดใจในข้อนั้นเพราะดูจากจำนวนพิมพ์จนถึงเล่มที่ผมมี เห็นจะไม่เกิน ๕ พัน ซึ่งผมอ่านไปก็ยังงงไปจนบัดนี้ (ก็แค่สองโคลงสองบทแรก ยังแปลกันอุตลุดปานนี้) เดา: ผมว่าผู้แต่งน่าจะเป็นหรือเคยเป็นภิกษุชั้นผู้ใหญ่ที่เชี่ยวชาญปาลีและสันสกฤตมาก ฝากถึงคุณกายวิน: ผมยังไม่พบกษัตริย์กรุงศรีอยุธาชื่อ ศรีสรรเพชญ นะครับ โคลงสี่ (โคลงดั้นบาทกุญชร) ๏ พรหมพิษณุบรเมศรเจ้า........จอมเมรุ มาศแฮ ยำเมศมารุตอร....................อาศนม้า พรุณคนิกุเพนทรา................สูรเสพย เรืองรวีวรจ้า.......................แจ่มจันทร ฯ ๏ เอกาทสเทพแส้ง...............เอาองค์ มาฤๅ เป็นพระศรีสรรเพชญ.............ที่อ้าง พระเสด็จดำรงรักษ...............ล้ยงโลกย ไส้แฮ ทุกเทพทุกท้าวไหงว้.............ช่วยไชย ฯ ยม{ยม, ยมม(คำปาลีต้องมีตัวตามแถวเดียวกับตัวสะกด)=เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่ประจําโลกของคนตาย}+อิศ (อิด= ผู้เป็นใหญ่ คำสกัตถ์ที่ใช้ในการประพันธ์ปกติไม่ต้องการคำแปล) = ยมเมศ (สระอะ อา สนธิกับ สระอิ อี ได้ สระอิ อี หรือ เอ) ยำเมศ= ยมเมศ=พระยมผู้เป็นใหญ่ มารุต=ลม,พระพาย อร=กำ,ซี่ล้อรถ หรือ อร=งาม,สวย โดยเหตุที่พระพายนั้นมีรูปกายสีขาวงดงามมาก อาศน(สันสกฤต) = อาสน(ปาลี)=ที่นั่ง อรอาศนม้า= รถม้า {พระพายนั้นตามคติมิได้ทรงม้านะครับ มีแต่ที่กล่าวว่าทรงประทับบนรถม้าสีแดงหรือม่วง บางครั้งคู่เดียว หรือ เก้าสิบเก้าตัว ร้อยตัว หรือพันตัว บ้างก็ว่าทรงมฤค (กวาง)} กุเพนทราสูร=กุเพร+อินทร+อสูร=กุเวร+เทพผู้เป็นใหญ่ชั้นจตุมหาราช+ยักษ์ เสพย= เสพ= (มค. เสว) ก. ยกชู, คบค้า; ร่วมรส, กอดรัด, ร่วมประเวณี; กิน, ใช้, บริโภค กุเพนทรา สูรเสพย = ท้าวกุเวรเทพผู้เป็นใหญ่เหนือเหล่ายักษ์ ส่วนใหญ่ก็คล้อยตามที่ท่านกามนิตท่านว่าไว้แหละครับ ผมไม่ยืนยันว่าที่กล่าวมาเป็นความรู้นะครับ เพียงแต่ได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่านมา พึงใช้กาลามสูตรในการสดับตามควรแก่กรณีเถิด แล้วที่ท่านกามนิตว่าผมรู้จนถึงเป็นปราชญ์อะไรนั่น ขอร้องเถอะครับ ขี้กลากจะกินเอาเปล่าๆ ที่เงียบๆนั่นน่ะไม่ใช่อมภูมินะครับ ไม่รู้เสียละมาก พรายม่าน สันทราย ๐๙.๐๗.๕๔ หัวข้อ: Re: ขำ เริ่มหัวข้อโดย: รพีกาญจน์ ที่ 10 กรกฎาคม 2011, 09:09:PM เรียน คุณกายวิน คุณกามนิต คุณพรายม่าน และคุณทุกท่าน
......พระมหาธรรมราชา ราชาภิเษกเป็นพระเจ้าแผ่นดิน เมื่อ พ.ศ. 2112 ทรงพระนามว่า พระศรีสรรเพชญ์ มีโอรสธิดากับ พระวิสุทธิกษัตรีย์ 3 พระองค์ คือ พระสุวรรณเทวี สมเด็จพระนเรศวร (พระองค์ดำ) และ สมเด็จพระเอกาทศรถ (พระองค์ขาว)...... จะใช่ดังที่ท่านทั้งสามกล่าวหรือไม่ กระผมมิทราบ ค้นพบจาก หนังสือประวัติศาสตร์ไทย (ฉบับนักเรียน) หน้า 46 เขียนโดย อรุณ ทีปะปาล สำนักพิมพ์อุดมศึกษา พิมพ์จำหน่าย 2511 236 หน้า ราคา 15 บาท (ลดเหลือ 7.50 บาท) รพีกาญจน์ 59 10 กรกฎาคม 2554 หัวข้อ: Re: ขำ เริ่มหัวข้อโดย: ...สียะตรา.. ที่ 10 กรกฎาคม 2011, 09:22:PM ......อ่านแล้วน่าสนุก...ได้ความรู้ดีค่ะ.. emo_47 หัวข้อ: Re: ขำ เริ่มหัวข้อโดย: พรายม่าน ที่ 10 กรกฎาคม 2011, 10:53:PM ขอบคุณท่านรพีกาญจน์ 59สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม สมเด็จพระมหาธรรมราชา อีกพระนามหนึ่งน่าจะเป็น สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ ๑ นะครับ(มิใช่ศรีสรรเพชญ์) มหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา ลำดับที่ ๑๘ ท่านครองราชย์ห่างจาก สมเด็จพระรามาธิบดี ที่ ๒ (ลำดับที่ ๑๐) ๗๘ ปี สันนิษฐาน: ในลิลิตยวนพ่ายคงมิได้หมายถึงมหากษัตริย์ที่ครองราชย์ภายหลังกระมัง และเป็นที่แน่ชัดว่าแต่งเพื่อสดุดี สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ถ้าจะกล่าวถึงกษัตริย์อื่น ก็น่าจะเป็นพระบูรพกษัตริย์มากกว่า กรุงศรีอยุธยามีวัดสำคัญอยู่วัดหนึ่ง ชื่อวัดพระศรีสรรเพชญ์ เดิมเป็นพระที่นั่งในสมเด็จพระรามาธิบดี ที่๑(พระเจ้าอู่ทอง) ภายหลังสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถขึ้นครองราชย์ได้สร้างพระราชวังขึ้นใหม่ แล้วทรงยกพระที่นั่งพระศรีสรรเพชญ์ขึ้นเป็นเขตพุทธาวาส เพื่อใช้ประกอบพระราชพิธีต่างๆไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ เช่นเดียวกับวัดพระศรีรัตนศาสดารามในปัจจุบัน เดา: พอจะลากโยงไปเกี่ยวกันได้หรือไม่ ขอบคุณอีกครั้งครับ พรายม่าน สันทราย ๑๐.๐๗.๕๔ หัวข้อ: Re: ขำ เริ่มหัวข้อโดย: เมฆา... ที่ 11 กรกฎาคม 2011, 10:56:AM ๐ ขำจริง ๐
emo_32 ๐ ขำขำ..ย้ำว่ากลิ้ง....จริงจัง ถ้อยพจน์บทเทียบผัง.....ดั่งนั้น งามยิ่งสิ่งคงคลัง....วางอรรถ เด่นชัดด้วยเชิงชั้น...เช่นนี้ตีความ ๐ ประโยชน์ปราโมทย์แท้....แลชม ทราบร่ายเพื่อคลายปม....เปรียบถ้วน ไขขานผ่านคารม....รื่นชัด จริงเฮย ยกย่องจากใจล้วน...ด่วนซ้องจ้องตาม . ๐ วาทะคละบ่งชี้....มีมูล ทุกท่านปันเกื้อกูล....แก่นรู้ นี่แลสิ่งเพิ่มพูน....พจน์ร้อย รวงจาร พินิจกิจกระทู้....เทียบอ้างทางกลอน ๐รับสาส์นงานสื่อสร้าง....สวยส่อง ขำ..ต่อแต่ก็ต้อง....ท่องตั้ง ด้วยสอดแทรกครรลอง....ของปราชญ์ นั้นแล ฉกาจนักที่ยั้ง......แหย่เย้าเข้าใจ ฯ.. ......อ่านแล้วน่าสนุก...ได้ความรู้ดีค่ะ.. emo_47 (อิอิ ยืมของพี่สียะตรา..มา ฮ่าๆๆ emo_32) กระทู้นี้ชอบครับอ่านแล้วได้ความรู้เยอะเลย...แลกเปลี่ยนข้อมูลกันอย่างสร้างสรรค์ แหล่มครับ.. emo_28 ด้วยความเคารพอย่างสูง เมฆา... หัวข้อ: Re: ขำ เริ่มหัวข้อโดย: ไพร พนาวัลย์ ที่ 11 กรกฎาคม 2011, 06:17:PM นี่คือการสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นอย่างน่ายกย่องชมเชยเป็นอย่างยิ่ง แต่ละท่านก็หาแหล่งอ้างอิงมายืนยัน นี่คือการสนทนาปราศรัยแห่งปราชญ์อย่างแท้จริง จะได้เป็นแหล่งความรู้ของผู้ที่ยังไม่รู้ และเพื่อเกื้อกูลประโยชน์แก่อนุชนเบื้องหลัง ที่เข้ามาอ่าน มาหาความรู้กัน ขอเชิญท่านทั้งหลาย สนทนาปราศรัย ด้วยไมตรีจิตมิตรภาพเยี่ยงนี้ ตลอดไป เทอญฯ ลุงปรางค์ emo_89 emo_60 emo_116 emo_95 หัวข้อ: Re: ขำ เริ่มหัวข้อโดย: สายใย ที่ 11 กรกฎาคม 2011, 06:54:PM (http://www.klonthaiclub.com/pic/bar_020.gif) ............................................หวังจะอ่านกลอนขำให้หนำจิต แหมคิดผิดพลาดหนักไม่ยักขำ แต่คุ้มค่า...ถ้าผ่าน (ผม)อ่านประจำ ทุกถ้อยคำล้ำค่า....วันทาครู.... (กายวิน สียะตรา เทวดา กามนิต พรายม่าน รพีกาญจน์29 และ ทุก ๆท่านครับ) (http://www.klonthaiclub.com/pic/bar_020.gif) ....ไม่ถูกใจ อภัยนิด ถ้าคิดต่าง... ป.ล.(มีกี่จุดวุ้ย) แก้ไขเป็น รพีกาญจน์59 นะครับ |