พิมพ์หน้านี้ - วิสาขปุรณมีบูชา

ชุมชน บ้านกลอนไทย ชุมชนสำหรับคนไทยผู้รักกลอน

บทประพันธ์กลอนและบทกวีเพราะๆ => กลอนธรรมะ+กลอนสอนใจ+กลอนธรรมชาติ+กลอนปรัชญา => ข้อความที่เริ่มโดย: กุลมาตา(singlemom99) ที่ 28 พฤษภาคม 2010, 06:45:AM



หัวข้อ: วิสาขปุรณมีบูชา
เริ่มหัวข้อโดย: กุลมาตา(singlemom99) ที่ 28 พฤษภาคม 2010, 06:45:AM
วิสาขปุรณมีบูชา     
                     
(http://img195.imageshack.us/img195/6387/lordhi.jpg)


วิสาขปุรณมีบูชา                       องค์พระสัมมา-
สัมพุทธเจ้าท่านทรง

ประสูติ ตรัสรู้ แลทรง               ดับขันธลง
เข้าสู่ปรินิพพาน

คืนเพ็ญเด่นดวงจันทร์สาน        ณ เดือนหกกาล
ระลึกตรึกตรองครองธรรม

อริยสัจสี่ล้ำ                              กตัญญูนำ
ความไม่ประมาททั้งปวง

..
กุลมาตา-singlemom99-
28   พฤษภา   2553
..
หลักธรรมในวันวิสาขบูชา
วันวิสาขบูชา เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญ ๆ ของพระพุทธเจ้าถึง 3 เหตุการณ์ คือ การประสูติ การตรัสรู้ และการปรินิพพาน ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในเหตุการณ์เหล่านั้น คติธรรมหลักคือไตรลักษณ์ หรืออนิจจลักษณะ อันได้แก่ความเป็นธรรมดาของโลก 3 ประการ คือ อนิจจัง ความไม่เที่ยง ทุกขัง ความเป็นทุกข์คือตั้งอยู่ในสภาพเดิมมิได้ และอนัตตา ความที่สังขารทั้งหลายไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามที่เราต้องการได้ (เช่น บังคับไม่ให้แก่ไม่ได้ บังคับไม่ให้ตายไม่ได้) ซึ่งทุกสรรพสิ่งในโลก ล้วนตกอยู่ในสภาพ 3 ประการนี้ แม้พระพุทธเจ้าผู้ทรงเป็นพระบรมศาสดาของโลก ก็ยังต้องทรงตกอยู่ในกฏเหล่านี้ ไม่มีใครสามารถพ้นไปได้

สำหรับหลักธรรมคติเทียบเคียงกับเหตุการณ์ทั้ง 3 ที่สามารถนำมาประพฤติปฏิบัติได้ 3 อย่าง คือ[48]

ความกตัญญู
 
หลักคติธรรมอุปมาที่ได้จากเหตุการณ์ในวันวิสาขบูชา ทั้ง 3 เหตุการณ์ คือ ความกตัญญู, อริยสัจ 4, และ สติในเหตุการณ์วันประสูติ สามารถยกหลักธรรมมาเทียบเคียงได้ คือ "หลักความกตัญญู" เพราะในพระพุทธประวัติ แม้พระนางสิริมหามายา ผู้เป็นพระราชมารดาของเจ้าชายสิทธัตถะจะสิ้นพระชนม์ไปหลังที่เจ้าชายประสูติได้เพียง 7 วัน แต่เมื่อเจ้าชายสิทธัตถะได้ตรัสรู้แล้ว ก็ได้เสด็จไปโปรดพระพุทธมารดาบนดาวดึงสเทวโลก ถึงแม้พระเจ้าสุทโธทนะ ผู้เป็นพระราชบิดา พระพุทธองค์ก็เสด็จไปโปรดถึงพระราชวังที่ประทับ จนพระเจ้าสุทโธทนะประชวรหนักใกล้สวรรคต พระพุทธองค์ก็ได้เสด็จเข้าไปโปรดจนพระราชบิดาได้บรรลุสำเร็จเป็นพระอรหันต์และนิพพานในพระราชวังในวันนั้นเอง

ซึ่งในเรื่องความกตัญญูต่อบิดามารดา และผู้มีอุปการะก่อนนั้น พระพุทธเจ้าได้ตรัสไว้หลายพระสูตรด้วยกัน เช่นใน หลักทิศ 6 เป็นต้น ซึ่งความกตัญญูนั้นไม่ได้จำกัดเฉพาะกับบุคคลเท่านั้น แต่รวมไปแม้กระทั่งต้นไม้ที่ให้ร่มเงาด้วย ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า

 "บุคคลนั่งหรือนอนที่ร่มเงาต้นไม้ใด ไม่ควรหักกิ่งต้นไม้นั้น ผู้ประทุษร้ายมิตร เป็นคนเลวทราม"
 
— 'พระพุทธพจน์จาก — พระไตรปิฏก ขุททกนิกาย ชาดก. ๒๘/๒๖ '

ความกตัญญู จึงนับได้ว่าเป็นหลักสำคัญในพระพุทธศาสนาอย่างหนึ่ง มีตัวอย่างหลายเรื่องในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาที่กล่าวว่าพระพุทธองค์ทรงยกย่องผู้มีความกตัญญูต่อบิดามารดา เช่น เรื่องพระภิกษุเลี้ยงบิดามารดาในมหานิบาต[49] เป็นต้น ซึ่งทำให้พระพุทธองค์ตรัสว่า

 "นิมิตฺตํ สาธุรูปานํ กตญฺญูกตเวทิตา" แปลว่า: "ความกตัญญูกตเวทีเป็นเครื่องหมายของคนดี"
 
— 'พระพุทธพจน์จาก — พระไตรปิฏก อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต "ปุตตสูตร" '

กล่าวโดยสรุป เหตุการณ์ประสูตินี้เป็นเครื่องเตือนให้พุทธศาสนิกชนระลึกถึงความกตัญญูกตเวที ที่ทุกคนควรมีในตนไม่ว่าจะนับถือศาสนาใดก็ตาม

อริยสัจ 4
ในเหตุการณ์วันตรัสรู้ สามารถยกหลักธรรมมาเทียบเคียงได้ คือ "อริยสัจ 4" อันเป็นหลักธรรมในการแก้ปัญหาชีวิตที่พระพุทธองค์ทรงตรัสรู้ คือ

 "ทุกข์" ความไม่สบายกายไม่สบายใจ สภาวะที่ทนได้ยากทั้งหลาย (ปัญหา)
"สมุทัย" ต้นเหตุของความทุกข์ คือกิเลสตัณหา (ต้นเหตุของปัญหา)
"นิโรธ" จุดหมายที่จะดับทุกข์ คือนิพพาน (วางเป้าหมาย)
"มรรค" แนวทางในการปฏิบัติเพื่อดับทุกข์ (ลงมือแก้ไข)
 
— พระพุทธพจน์จาก — พระไตรปิฏก สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค ๑๙/๕๒๘/๑๖๖๔

ความไม่ประมาท
ในเหตุการณ์วันปรินิพพาน พระพุทธองค์ทรงตรัสปัจฉิมโอวาทไว้บทหนึ่ง อันเป็นยอดของคำสอนในพระพุทธศาสนาที่ทุกคนควรนำมาปฏิบัติ คือ การมีสติอยู่ทุกเมื่อ ไม่ให้ความทุกข์ร้อนใจอันเกิดจากอำนาจกิเลสเข้าครอบงำ กล่าวคือ ความไม่ประมาทในกาลทุกเมื่อ โดยพระพุทธองค์ทรงตรัสไว้ว่า

 "...อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ..."

แปลว่า: "พวกเธอทั้งหลาย จงยังประโยชน์ตนและท่าน ให้ถึงพร้อมด้วย ความไม่ประมาท เถิด"
 
— 'สยามรฏฺฐเตปิฏกํ ปาลี. มหาปรินิพฺพานสุตฺต มหา. ที. ๑๐/๑๔๙/๑๑๗'

(จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)